เทคโนโลยีผ้าและสิ่งทอล่าสุดที่น่าสนใจ ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา

เทคโนโลยีผ้าและสิ่งทอล่าสุดที่น่าสนใจ ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา

4 เทคโนโลยีที่น่าสนใจสำหรับการผลิตผ้า

การพัฒนาของเทคโนโลยีในอุตสาหกรรมต่าง ๆ นั้น ต่างเติบโตก้าวหน้าอย่างรวดเร็วแบบก้าวกระโดด ทั้งในด้านการสื่อสาร ยานยนต์ หรือแม้กระทั่งด้านอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มเอง ซึ่งก็มีความโดดเด่นในด้านการพัฒนานวัตกรรมสำหรับผลิตวัสดุอุปกรณ์เกี่ยวกับสิ่งทอเกิดขึ้นมากมาย ทั้งในต่างประเทศและในบ้านเราเอง ซึ่งก็เป็นแหล่งรวมผ้าที่พัฒนาขึ้นในประเทศไทย หรือ Thailand Fabric ที่สำคัญแห่งหนึ่ง

และในบทความนี้ D’FINEST FABRIC ผู้ให้บริการผ้าตัดเสื้อเชิ้ต ผ้าตัดชุดยูนิฟอร์ม (Uniform fabric supplier) ทั้งแบบขายส่งและขายปลีก (Retail & Wholesale Fabric Store) จะพาทุกท่านไปทำความรู้จักกับเทคโนโลยีด้านสิ่งทอที่เกิดขึ้นใหม่ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมาว่ามีอะไรที่น่าสนใจบ้าง ซึ่งอาจจะกลายเป็นสิ่งทอ เสื้อผ้า หรือเครื่องใช้ที่ใกล้ตัวในอนาคตอันใกล้นี้ก็ได้ แต่จะมีสิ่งใดบ้างนั้น ไปติดตามรายละเอียดกันได้เลย

นวัตกรรมและเทคโนโลยีสิ่งทอที่น่าสนใจ

ถ้ากล่าวถึง สิ่งทอ โดยปกติแล้ว หลาย ๆ ท่านอาจนึกถึงผ้าทอ ที่เกิดจากการนำวัสดุและเส้นใยต่าง ๆ มาถักทอจนเป็นผืนผ้าเป็นสิ่งแรก แต่จริง ๆ แล้ว นิยามของสิ่งทอในอุตสาหกรรมสิ่งทอนั้น จะมีองค์ประกอบหลากหลายประเภทที่เกี่ยวข้องกับการผลิตผ้า ไม่ว่าจะเป็น

  • เส้นใย เป็นองค์ประกอบหน่วยที่เล็กที่สุดที่เกิดจากวัสดุธรรมชาติ หรือสารสังเคราะห์ใด ๆ ก็ตามนำมาขึ้นรูปเป็นผ้า
  • ด้าย เกิดจากการนำเส้นใยมาขึ้นเกลียวหรือนำมารวมกันหลาย ๆ เส้น
  • ผ้า สร้างขึ้นจากการนำเส้นใย ด้าย หรือสารละลายอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลาย ๆ อย่างรวมกันในการผลิต โดยเมื่อผลิตขึ้นมาแล้ว จะได้เป็น ผ้าดิบ ก่อนจะนำไปผ่านกระบวนการใส่สารเติมแต่งหรือที่เรียกว่า การตกแต่งสำเร็จ เพื่อทำการเพิ่มคุณสมบัติพิเศษหรือเสริมคุณภาพให้กับผ้าดิบ
  • สิ่งทอ ก็คือ เส้นใย ด้าย และผ้า และนับรวมถึงผลิตภัณฑ์ที่เกิดจากการนำเส้นใย เส้นด้าย และผ้ามาเป็นองค์ประกอบในการจัดทำด้วย

ซึ่งเทคโนโลยีสิ่งทอที่เกิดขึ้น ก็จะเกี่ยวข้องกับองค์ประกอบทั้งหมดข้างต้นเหล่านี้ อาจเป็นการพัฒนาสิ่งใดสิ่งหนึ่ง หรือหลาย ๆ สิ่งรวมกันก็ได้ โดยมีเทคโนโลยีสิ่งทอที่เกี่ยวข้องเกิดขึ้น และน่าสนใจ ตัวอย่างเช่น

1. เทคโนโลยีการพิมพ์สิ่งทอ 3 มิติ (3D Printing)

จากโดยปกติที่มีการใช้งานเครื่องพิมพ์โดยทั่วไปที่เป็นแบบ 2 มิติ พิมพ์เป็นข้อความและรูปภาพลงบนแผ่นกระดาษหรือวัสดุอื่น ๆ แต่ปัจจุบันหลังจากที่มีการพัฒนาเครื่องพิมพ์ 3 มิตินั้นถูกประดิษฐ์ขึ้น และใช้ในการสร้างวัตถุต่าง ๆ ขึ้นมากมายหลายชนิดที่เสมือนจริงและจับต้องได้ ด้วยวิธีการพิมพ์เพื่อสร้างชิ้นงานแบบทับซ้อนในแต่ละจุดลงไปเรื่อย ๆ จนได้เป็นวัตถุในรูปทรงที่ต้องการนั่นเอง

สำหรับในอุตสาหกรรมสิ่งทอนั้น เครื่องพิมพ์ 3 มิติถูกนำมาใช้ในการสร้างเส้นใยได้หลากหลายชนิด ไม่ว่าจะเป็น เส้นใยสังเคราะห์ เส้นใยพลาสติก เส้นด้ายขนสัตว์ หรือแม้กระทั่งโลหะ โดยจุดเด่นของการใช้งานเทคโนโลยี 3D Printing ในอุตสาหกรรมสิ่งทอก็คือ สามารถผลิตได้อย่างง่ายและรวดเร็ว ผ่านการออกแบบและสั่งพิมพ์ด้วยโปรแกรมบนคอมพิวเตอร์ได้โดยตรง ซึ่งทั้งหมดนี้สามารถผลิตได้ในระยะเวลาอันสั้น ไม่จำเป็นต้องรอรอบการผลิตในโรงงานใหญ่ และยังลดปริมาณเศษเหลือทิ้งที่จะเป็นขยะได้ จึงจัดว่าเป็นเทคโนโลยีสิ่งทอที่ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม

แต่อย่างไรก็ตาม การผลิตสิ่งทอด้วยเครื่องพิมพ์ 3 มิติก็ยังคงมีข้อจำกัดอยู่บ้าง อันเนื่องมาจากวัสดุที่จะใช้งานในลักษณะนี้ได้ ส่วนใหญ่จะเป็นสิ่งสังเคราะห์ที่ยังไม่มีความนุ่มหรือยืดหยุ่น เหมือนกับวัสดุสิ่งทอตั้งต้นที่ผลิตจากธรรมชาติ หรือใช้เทคโนโลยีการสังเคราะห์ที่ผลิตในอุตสาหกรรมสิ่งทอโดยตรง การใช้งานสิ่งทอจากเครื่องพิมพ์ 3 มิติจึงยังคงจำกัดอยู่ในวงแคบ เช่น การใช้ผลิตเสื้อผ้า เครื่องนุ่งห่มสำหรับงานแฟชันโชว์ หรือวัสดุอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับเครื่องนุ่งห่ม เช่น เครื่องประดับ แว่นตา รองเท้า ฯลฯ แต่เชื่อว่าจากการคิดค้นพัฒนาอย่างไม่หยุดนิ่ง ก็จะมีเทคโนโลยีสิ่งทอจาก 3D Printing ที่มีคุณภาพเกิดขึ้น และสามารถนำมาใช้ในการผลิตผ้าสำหรับใช้งานทั่วไป ผ้าตัดเสื้อเชิ้ต ผ้าตัดชุดยูนิฟอร์มได้ในอนาคตอันใกล้นี้


สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

2. FoT: Fabric of Things

อีกขั้นของนวัตกรรมทางด้านสิ่งทอ กับการผสานเข้ากับเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ต สื่อไร้สาย และอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่ต่อยอดมาจาก IoT: Internet of Things ที่หลาย ๆ สิ่งรอบตัว โดยเฉพาะเครื่องใช้ไฟฟ้าต่าง ๆ ที่ในปัจจุบันสามารถเชื่อมต่อและควบคุมการทำงานผ่านอินเทอร์เน็ตได้

โดยในสิ่งทอนั้นก็มีการพัฒนาสิ่งทอ เสื้อผ้า และเครื่องนุ่งห่มให้มีความอัจริยะในการใช้งาน ตัวอย่างเช่น กางเกงใส่วิ่งที่สามารถวัดระยะทางที่วิ่ง จำนวนก้าว และความถี่ในการก้าวเท้าได้ หรือชุดชั้นในกีฬาที่วัดอัตราการเต้นของหัวใจ ตลอดจนการพัฒนาเทคโนโลยี “เท็กซ์ไทล์เซ้นส์” (TextileSense) จากมหาวิทยาลัยคาร์เนกี เมลลอน ในสหรัฐอเมริกา ที่มีการฝังเสาอากาศสื่อสารไร้สายผ่านคลื่นวิทยุลงในพื้นผิวของสิ่งทอและเฟอร์นิเจอร์ต่าง ๆ เพื่อควบคุมการทำงานของเครื่องใช้ไฟฟ้าได้ เช่น การโบกมือเหนือเบาะโซฟาเพื่อเบาหรือเพิ่มเสียงโทรทัศน์ หรือการสัมผัสบางส่วนของหมอนเพื่อเปิดและปิดไฟ เป็นต้น ซึ่งการทำงานของเซ็นเซอร์ที่เป็นมิตรกับสิ่งทอนี้ หากได้รับการพัฒนาจนสำเร็จก็จะอำนวยความสะดวกให้กับการใช้ชีวิตอย่างสะดวกสบายได้ในอีกระดับ

3. Medical Textile ผลิตภัณฑ์สิ่งทอทางการแพทย์

นวัตกรรมสิ่งทอถูกนำมาใช้ในทางการแพทย์ การดูแลสุขภาพ ซึ่งมีหลายสิ่งที่เราคุ้นเคยกันดีและใช้กันมาอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็น หน้ากากอนามัย ชุด PPE โดยเฉพาะในช่วงที่ covid-19 ระบาดก็ทำให้กลายเป็นสิ่งทอที่จำเป็นต้องใช้จำนวนมาก หรืออุปกรณ์ทางการแพทย์อื่น ๆ ที่ใช้กันในโรงพยาบาล

ซึ่งนอกจากสิ่งทอเหล่านี้แล้ว ยังมีอุปกรณ์อื่น ๆ ที่เกิดจากเทคโนโลยีสิ่งทอที่ถูกพัฒนาขึ้นเมื่อไม่นานมานี้ ตัวอย่างเช่น Hollow Fiber ที่ถูกผลิตจากเส้นใยชนิดมีรูกลวง สามารถนำไปใช้ในการต่อเป็นไตหรือปอดเทียม หรือการพัฒนาเส้นใยให้มีสารเคลือบ ซึ่งสามารถช่วยป้องกันและยับยั้งเชื้อโรคทั้งแบคทีเรียและไวรัสได้ หากนำไปต่อยอดพัฒนาเป็นเสื้อผ้า ผ้าตัดเสื้อเชิ้ต ผ้าตัดชุดยูนิฟอร์ม เครื่องนุ่งห่มต่าง ๆ หรือหน้ากากอนามัย ฯลฯ ก็จะช่วยให้การดำเนินชีวิตในยุคที่มีโรคระบาด หรือมลพิษ เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพได้มากยิ่งขึ้น

4. เทคโนโลยีสิ่งทอที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

โดยปกติในกระบวนการผลิตของอุตสาหกรรมสิ่งทอในแต่ละขั้นตอน จะก่อให้เกิดปัญหาต่อสิ่งแวดล้อมในหลาย ๆ ด้าน แต่ในตลอดระยะเวลาหลายปีที่ผ่านมา ผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มก็ได้ตระหนักถึงปัญหาเหล่านี้ จนเกิดเป็นเทรนด์ Eco Friendly ขึ้นมา โดยทั้งหมดมีความพยายามที่จะใช้เทคโนโลยีในการลดมลภาวะที่เกิดจากการผลิตสิ่งทอให้เกิดขึ้นน้อยลงมากที่สุด

อย่างเช่น การผลิต Sustainable Fabric หรือที่เรียกว่า ผ้ารักษ์โลก ผ้ายั่งยืน ซึ่งผลิตจากวัสดุที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ทั้งเส้นใยธรรมชาติ และวัสดุรีไซเคิล รวมถึงขั้นตอนในการผลิตก็ยังเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และเนื้อผ้าเองก็มีคุณภาพคงทน ใช้ได้นานอย่างยั่งยืนสมชื่อด้วย

โดยที่ ดีไฟนเนสต์ แฟบริค นอกจากจะมีผ้าหลากหลายรายการให้เลือกใช้ตามความต้องการทั้งแบบทั่วไปสำหรับใช้เป็นผ้าตัดเสื้อเชิ้ต ผ้าตัดชุดยูนิฟอร์ม (Uniform fabric supplier) ทั้งแบบขายส่งและขายปลีก (Retail & Wholesale Fabric Store) แล้ว เราก็มีผ้าที่เป็น Eco Friendly ให้บริการด้วยเช่นกัน ด้วยหวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะทำให้วงการสิ่งทอของไทย หรือ Thailand Fabric มีการพัฒนาอย่างก้าวหน้าไปพร้อม ๆ กับสังคมที่เติบโตอย่างมีคุณภาพยั่งยืนด้วย

และทั้งหมดนี้ก็คือตัวอย่างความก้าวหน้าของเทคโนโลยีในอุตสาหกรรมสิ่งทอของผู้ผลิตรายต่าง ๆ ที่จำเป็นต้องมีการพัฒนาอย่างไม่หยุดนิ่ง เพื่อให้เกิดสิ่งใหม่ ๆ ที่ทันสมัยอยู่ตลอดเวลา ไปพร้อม ๆ กับการรักษาสิ่งแวดล้อม รับผิดชอบต่อสังคม และที่สำคัญคือ เพื่อไม่ให้เกิดปัญหา Disruptive Technology ที่ทำให้หลาย ๆ ธุรกิจต้องปิดตัวไปเพราะไม่สามารถปรับตัวเข้ากับความเปลี่ยนแปลงของสิ่งที่เกิดขึ้นใหม่ซึ่งถูกนำมาใช้งานแทนที่ แต่สำหรับธุรกิจที่ปรับตัวได้ ก็จะสามารถสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์สิ่งทอใหม่ ๆ นำมาทดแทนสิ่งเดิม และเสนอให้กับความต้องการของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไปได้อย่างตรงจุด รวมถึงยังสามารถเพิ่มศักยภาพในด้านการผลิตและการแข่งขันในระดับนานาชาติได้อีกด้วย

โดยที่ D’FINEST FABRIC (Shirting fabric supplier) เราเป็นแหล่งรวมผ้าหลากชนิดในไทย หรือ Thailand Fabric พร้อมให้บริการผ้าตัดเสื้อเชิ้ต และ ผ้าตัดชุดยูนิฟอร์ม ที่ทางเราเป็น Uniform fabric supplier โดยเฉพาะ ทั้งการตัดปลีกอย่างไม่มีขั้นต่ำและขายส่ง (Retail & Wholesale Fabric Store) ที่มีผ้าให้เลือกทั้งหมดกว่า 1,000 รายการ ด้วยผ้าที่ผลิตจากเส้นใยหลากหลายชนิด ไม่ว่าจะเป็นเส้นใยธรรมชาติ หรือเส้นใยสังเคราะห์ที่ถูกผลิตขึ้นมาอย่างมีคุณภาพ และสวมใส่สบาย ตลอดจนผ้ายั่งยืนที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม พร้อมให้บริการผลิตจากโรงทอและโรงย้อมที่มีเทคโนโลยีทันสมัยและได้มาตรฐาน พร้อมการพัฒนาผ้าใหม่ ๆ อย่างต่อเนื่อง สนใจเลือกชมสินค้าหรือสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://shirtingfabric.com

สอบถามพิ่มเติม และขอแคตตาล๊อคตัวอย่างผ้า

มือถือ : +6685-612-6555
อีเมล :
dfinestfabric@gmail.com
Facebook: https://facebook.com/Dfinestfabric/
Website : https://shirtingfabric.com

สำนักงาน : +662-391-5737
สำนักงาน : +662-391-5738
สำนักงาน : +662-391-5739

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *