กระบวนการ Mercerized และ Sanforized
ในการผลิตผ้า คืออะไร

ปรับปรุงคุณภาพของเส้นใยและเนื้อผ้า
ด้วยกระบวนการ Mercerized และ Sanforized


ในการเลือกซื้อผ้าสำหรับนำมาตัดเย็บ ความสวยงามของสีสันและลวดลายบนผืนผ้าเรียกได้ว่าเป็นหนึ่งในปัจจัยลำดับต้น ๆ ที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกซื้อของผู้บริโภคมากยิ่งกว่ารูปแบบและชนิดของเนื้อผ้าที่จะนำมาใช้เป็นผ้าผลิตเสื้อเชิ้ต หรือเสื้อยูนิฟอร์ม ส่งผลให้ในปัจจุบันนี้ภาคอุตสาหกรรมสิ่งทอจึงได้มีการนำกระบวนการทางเคมีต่าง ๆ มากมายเข้ามาประยุกต์ใช้ในขั้นตอนการผลิต เพื่อช่วยปรับเปลี่ยนคุณสมบัติของเส้นใยประเภทต่าง ๆ เพื่อให้ได้เส้นใยสำหรับนำมาใช้ในการถักทอเป็นผืนผ้าที่มีความสะอาด สวยงาม แข็งแรง ทนทาน และมีคุณสมบัติทางเคมี ไม่ว่าจะเป็นในด้านของการหดตัวตัวที่ดีเพื่อการมีขนาดที่พอดีกับรูปทรงของผู้สวมใส่ รวมไปถึงการดูดซับน้ำได้ดี และสามารถดูดซับสีย้อม หรือดูดซับสารเคมีประเภทต่าง ๆ ได้อย่างสม่ำเสมอ เพื่อช่วยให้กระบวนการย้อมและพิมพ์ผ้าก่อนการนำไปจัดจำหน่ายเป็นผ้าผืนสำเร็จ หรือการนำไปเข้าสู่อุตสาหกรรมตัดเย็บต่อไปเป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด

โดยในวันนี้เราจะขอพาทุกคนไปรู้จักกับ 2 ขั้นตอนสำคัญในการผลิตผ้าอย่าง กระบวนการ Mercerization และกระบวนการ Sanforization ซึ่งกระบวนการเหล่านี้คืออะไร ? และเกี่ยวข้องอะไรกับการปรับปรุงคุณภาพของเส้นใยและเนื้อผ้า มาติดตามรายละเอียดที่น่าสนใจของกระบวนการ Mercerization และ Sanforization ไปพร้อม ๆ กันเลย

กระบวนการ Mercerized คืออะไร ?

กระบวนการ Mercerization เป็นหนึ่งในกระบวนการสำหรับการปรับปรุงคุณภาพและคุณสมบัติของเนื้อผ้าที่เก่าแก่ที่สุดที่ถูกคิดค้นและพัฒนาขึ้นมาโดย John Mercer นักเคมีสิ่งทอชาวอังกฤษในปี พ.ศ. 2387 ซึ่งโดยทั่วไปแล้วกระบวนการ Mercerization สามารถนำมาใช้เพื่อการช่วยปรับปรุงคุณภาพและปรับเปลี่ยนคุณสมบัติของเส้นใยธรรมชาติที่มีส่วนประกอบของเซลลูโลสได้ทุกประเภท แต่ในปัจจุบันนี้กระบวนการ Mercerization มักจะได้รับความนิยมในการนำมาใช้เพื่อเป็นกระบวนการในการช่วยปรับปรุงคุณภาพและปรับเปลี่ยนคุณสมบัติของเส้นใยฝ้ายให้มีความเรียบและแน่นขึ้น เพื่อช่วยเพิ่มความแข็งแรงและความทนทานให้กับเส้นใย เพื่อช่วยให้ได้ผ้าที่ไม่เป็นขุย และมีคุณสมบัติในการคงตัวที่ดีมากยิ่งขึ้น เพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาด้านการหดตัวของผ้าฝ้ายที่สามารถเกิดขึ้นได้ในระหว่างการซัก การปั่นแห้ง และการอบผ้า ซึ่งอาจส่งผลให้ผ้าฝ้ายเกิดการเสียรูปทรงและมีขนาดที่ไม่พอดีกับรูปทรงของผู้สวมใส่จนดูไม่สวยงามได้

และนอกจากนี้กระบวนการ Mercerization ยังเป็นกระบวนการที่ช่วยเพิ่มความสามารถในการดูดซับสีย้อมให้กับเส้นใย เพื่อช่วยให้การย้อมสีเส้นใยเป็นไปได้ง่ายและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ซึ่งจะสามารถสังเกตได้ว่าผ้าที่ได้จากเส้นใยที่ผ่านกระบวนการ Mercerized มาแล้วนั้นจะมีความสวยงามและมันวาวมากกว่าผ้าแบบทั่วไป และมีสัมผัสที่อ่อนนุ่มมากขึ้นเป็นพิเศษ อีกทั้งกระบวนการ Mercerization ยังสามารถช่วยให้เส้นใยโดยเฉพาะเส้นใยฝ้ายมีความทนทานต่อการเกิดโรคราน้ำค้างที่ส่งผลต่อการเกิดกลิ่นเหม็นที่ไม่พึงประสงค์บนผ้าได้

การ Mercerized เส้นใยสามารถทำได้อย่างไร ?

การ Mercerized เส้นใยก่อนการนำมาใช้เป็นผ้าสามารถทำได้ด้วยการนำเส้นใยเซลลูโลสมาทำการชุบด้วยสารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์ หรือโซดาไฟ (NaOH) ที่มีความเข้มข้นสูงประมาณ 20 – 30% เพื่อช่วยให้เส้นใยเกิดการพองตัวจนมีพื้นผิวที่เรียบและแน่นขึ้น ซึ่งส่งผลต่อคุณสมบัติในการคงตัวและความสามารถในการดูดซับสีย้อมผ้า หรือดูดซับสารเคมีประเภทต่าง ๆ ได้อย่างสม่ำเสมอมากยิ่งขึ้น เพื่อให้ได้ผ้าเมอร์เซอไรด์ที่มีความสวย เงางาม และคงตัว ไม่ยืด ไม่หด ซึ่งเหมาะสำหรับการนำมาใช้เป็นผ้าผลิตเสื้อเชิ้ต เสื้อยูนิฟอร์ม หรือเสื้อผ้าเครื่องแต่งกายแบบอื่น ๆ ที่เหมาะสำหรับการนำมาสวมใส่ในทุกโอกาส

สำหรับการปรับปรุงคุณภาพของเส้นใยเซลลูโลสด้วยกระบวนการ Mercerization ความเข้มข้นของสารละลายอัลคาไลน์ รวมไปถึงอุณหภูมิ และระยะเวลาในชุบเส้นใยที่แตกต่างกันไปอาจส่งผลต่อคุณสมบัติของเนื้อผ้าที่แตกต่างกันออกไปได้ เพราะฉะนั้นแล้วเพื่อให้ได้ผ้าเมอร์เซอไรด์ที่มีคุณภาพและคุณสมบัติของเนื้อผ้าที่ดีที่สุด ขั้นตอนการ Mercerized เส้นใยควรดำเนินการภายใต้อุณหภูมิระหว่างองศา 19-20 องศาเซลเซียส และใช้ระยะเวลาในการ Mercerized เส้นใยไม่เกิน 60 วินาที โดยระยะเวลานี้จะขึ้นอยู่กับประเภทและความหนาของผ้าที่นำมาเข้าสู่กระบวนการ Mercerized เพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้เส้นใยเซลลูโลสเกิดการแตกตัวซึ่งอาจส่งผลให้ผ้าเกิดการหดตัวลงได้

โดยหลังจากที่ได้มีการเส้นใยเซลลูโลสมาทำการชุบด้วยสารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์ หรือโซดาไฟ (NaOH)เป็นที่เรียบร้อยแล้วนั้น เส้นใยที่ผ่านกระบวนการ Mercerization จะถูกนำมาผ่านน้ำร้อนที่อุณหภูมิไม่ต่ำกว่า 90 องศาเซลเซียส เพื่อทำการล้างสารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์ออกจนหมด โดยในบางครั้งในระหว่างขั้นตอนการล้างเส้นใยอาจมีการใช้สารเคมีประเภทกรด อย่างเช่น กรดน้ำส้ม หรือกรดกำมะถัน ร่วมด้วย เพื่อเป็นการช่วยรักษาค่าความเป็นกรด-ด่างของเนื้อผ้าให้มีความเป็นกลาง เพื่อคุณสมบัติของผ้าที่ดีที่สุด

 


สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

 

กระบวนการ Sanforization คืออะไร ?

กระบวนการ Sanforization หรือ กระบวนการทำให้หด เป็นกระบวนการที่ถูกคิดค้นและพัฒนาขึ้นมาโดย Sanford Lockwood Cluett ในปี ค.ศ. 1993 ด้วยการนำเอาผ้าประเภทต่าง ๆ มาผ่านกระบวนการแปรรูปก่อนจะนำมาใช้ตัดเย็บ เพื่อเป็นการช่วยป้องกันและแก้ปัญหาที่ไม่พึงประสงค์ด้านการหดตัวของผ้า ที่มักจะเกิดการหดตัวลงไปจากปกติมากถึง 5-10% หรือราว ๆ 1 ไซส์หลังจากที่นำไปทำการซัก ปั่นแห้ง หรืออบผ้าเป็นครั้งแรก จนทำให้เสื้อผ้ามีขนาดที่ไม่พอดีกับรูปร่างของผู้สวมใส่จนก่อให้เกิดความยุ่งยากต่อการสวมใส่ในครั้งถัด ๆ ไป และยังทำให้ลวดลายต่าง ๆ บนเสื้อผ้าเกิดการหดตัวตามรูปทรงของเสื้อผ้าตามไปด้วยจนดูไม่สวยงามและไม่เป็นธรรมชาติได้

การ Sanforized ผ้าสามารถทำได้อย่างไร ?

กระบวนการ Sanforization หรือ กระบวนการทำให้ผ้าหดตัวลงก่อนการนำมาตัดเย็บขึ้นรูป สามารถทำได้ด้วยการนำเอาผ้าประเภทต่าง ๆ มาผ่านกระบวนการแปรรูปทั้งกระบวนการยืด-หด ด้วยเครื่องอัดผ้าแรงดันสูงเพื่อช่วยให้เส้นใยของผ้าที่มีการถักทออยู่ในลักษณะที่ขนานกันเกิดการเคลื่อนตัวเข้าหากันจนอยู่ชิดติดกันมากขึ้น โดยขั้นตอนในการ Sanforization ผ้านั้น สามารถทำได้ด้วยการนำผ้าที่ต้องการทำให้หดตัวมาเข้าสู่เครื่องอัดผ้าแรงดันสูงเพื่อให้ผ้าผ่านการโดนความร้อนและความชื้นในหลายขั้นตอน ก่อนจะมีการใช้ผ้ายางในการยืดและคลายผ้าอย่างต่อเนื่องเพื่อช่วยให้เส้นใยของผ้าเกิดการขยับตัวจนชิดกัน และเป็นการบังคับให้ผ้าเกิดการหดตัวในปริมาณและลักษณะที่ต้องการ ซึ่งผ้าที่ผ่านกระบวนการ Sanforized มาแล้วส่วนใหญ่จะมีอัตราการหดตัวที่ลงน้อยที่สุดที่ประมาณไม่เกิน 1-3% หลังจากที่มีการนำไปทำการซัก ปั่นแห้ง หรืออบผ้าเป็นครั้งแรก

อย่างไรก็ตาม สำหรับผู้ที่พบว่าผ้าที่ซื้อมานั้นยังไม่ได้ถูกนำมาผ่านกระบวนการ Sanforized เพื่อทำให้เส้นใยผ้าเกิดการหดตัวลงก่อนการนำมาตัดเย็บ ก็สามารถนำผ้ามาทำการหดตัวได้ด้วยตัวเองก่อนการนำมาตัดเย็บ สวมใส่ และซักทำความสะอาดเป็นครั้งแรก ด้วยการนำเอาผ้าผลิตเสื้อเชิ้ต และเสื้อยูนิฟอร์ม ไปแช่น้ำอุ่นที่อุณหภูมิประมาณ 40-60 องศาเซลเซียส ทิ้งไว้ประมาณ 2-3 ชั่วโมง หรืออาจจะมากหรือน้อยกว่านั้นก็ได้โดยจะขึ้นอยู่กับลักษณะของเนื้อผ้า โดยที่ในระหว่างทำการแช่ผ้านั้นจะต้องทำการเปลี่ยนน้ำเพื่อรักษาอุณหภูมิของน้ำให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมตลอด เพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้ผ้าเกิดการเสียหายหรือเสียรูปได้

สำหรับนวัตกรรมผ้าประเภทใหม่ ๆ เหล่านี้ กำลังได้รับความนิยมสูงสุด และไว้วางใจโดยแบรนด์ระดับโลกเช่น Uniqlo, Zara ด้วยผิวสัมผัสของผ้าที่ใหม่ ไม่เหมือนผ้าที่ใส่เส้นด้ายแบบเก่า ลูกค้าที่สนใจสามารถให้ทางดีไฟเนสต์ แฟบริค ผลิตให้กับลูกค้าได้ตามความต้องการ ติดต่อเราได้ทันทีเพื่อคุยรายละเอียดเพิ่มเติม

ดีไฟนเนสต์ แฟบริค (Shirting fabric supplier) เป็นบริษัทที่มุ่งเน้นด้านคุณภาพเป็นหลัก บริษัทของเราเป็นผู้ผลิตผ้าตัดเสื้อเชิ้ต ผ้าตัดชุดยูนิฟอร์มที่มีมาตรฐานเป็นรุ่นที่ 4 ด้วยประสบการณ์ที่ส่งต่อจากรุ่นสู่รุ่น มากว่า 80 ปี บวกกับการนำวิวัฒนาการสิ่งทอใหม่ๆ มาประยุกต์ใช้ จึงทำให้เราสามารถผลิตผ้าผลิตเสื้อเชิ้ต เสื้อยูนิฟอร์ม หรือเสื้อประเภทต่าง ๆ ด้วยคุณภาพที่เกินราคา และมีผ้ากว่า 1,000 รายการพร้อมขายส่ง และผ้ากว่า 1,000 รายการ พร้อมตัดปลีกอย่างไม่มีขั้นต่ำ ติดต่อเราเพื่อขอรับแคตตาล๊อคผ้าคุณภาพของดีไฟเนสต์ แฟบริค

สอบถามพิ่มเติม และขอแคตตาล๊อคตัวอย่างผ้า

มือถือ : +6685-612-6555
อีเมล :
dfinestfabric@gmail.com
Facebook: https://facebook.com/Dfinestfabric/
Website : https://shirtingfabric.com

สำนักงาน : +662-391-5737
สำนักงาน : +662-391-5738
สำนักงาน : +662-391-5739

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *